บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเรื่อง ทักษะพื้นฐานการเป็นผู้รักษาประตู
ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ประวัติฟุตบอล
2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
2.1 ประวัติฟุตบอล
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา
ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น
สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ
เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต
และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอฟุตบอล
(Football) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก
ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน
แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า
"ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco
Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน
2.5 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
สื่อที่นิยมใช้ในงานประชาสัมพันธ์มากกว่าสื่ออื่นใด
ในปัจจุบันนี้ก็คือ สื่อวีดีทัศน์ วีดีทัศน์ หรือ วิดีโอ (Video) เป็นการนำเอาโทรทัศน์ (Television) หรือเนื้อหาทางวิชาการ
นโยบาย การประมวลกิจกรรมการดำเนินงาน มาจัดทาเป็นรายการสั้น ๆ ใช้เป็นสื่อเพื่อการนำเสนอ
การอธิบาย การสอน หรือเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งตามความต้องการของผู้ผลิต
วีดีทัศน์เป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการทางานอย่างมีระบบของคณะทางาน
ซึ่งจะเรียกเป็นผู้ผลิต หน่วยผลิต ฝ่ายผลิต หรือบริษัทผลิตรายการ (Prodution
House) เพื่อให้ได้มาซึ่งงานวีดีทัศน์
ตามความประสงค์ของงานหรือองค์กร
กระบวนการดังกล่าวเรียกเป็นกระบวนการผลิตรายการซึ่งมีเทคนิคขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การวางแผนการผลิต (Planning)
ในขั้นตอนนี้เป็นการระดมความคิด
ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ผลิตรายการ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายเนื้อหา
ผู้ออกแบบฉากเวที และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชุมปรึกษาถึงประเด็นการผลิตรายการว่าจะผลิตให้ใครดู หมายถึง
กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู ผู้ชม และในการผลิตรายการนั้นจะแสดงถึงอะไรบ้าง
จะให้ผู้ชมได้รู้ ได้เห็นเกี่ยวกับอะไร ประเด็นสุดท้ายในการวางแผนก็คือ ผลิตรายการออกมาแล้วคาดหวังผลอย่างไร
หรือเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง
2. การเขียนบท (Script)
บทโทรทัศน์ หรือ บทวีดีทัศน์
เป็นการนำเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อการนาเสนอให้ผู้ดู
ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ผู้เขียนบทวีดีทัศน์ (Script Writer)
จึงจาเป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ
มีความเข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์ ความศรัทธา สิ่งละอันพันละน้อย
ที่จะไปทำให้กระทบกระทั่ง หรือกระทำในสิ่งที่ผิดไปจากที่สังคมยอมรับ
บทวีดีทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนอ่าน ชวนฟัง มีการเกริ่นนำ
การดาเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้องกัน รู้จักสอดแทรกมุขตลกเกร็ดความรู้
หรือเทคนิคแปลก ๆ มีลีลาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว
การเขียนบทวีดีทัศน์จะมีทั้งการร่างบทวีดีทัศน์และการเขียนบทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์
ร่างบทโทรทัศน์เป็นการวางโครงเรื่อง (Plot) ของรายการแต่ละรายการ
ปกติจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเกริ่นนา (Introduction) เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง (Body) และการสรุปหรือการส่งท้าย (Conclusion) การเขียนร่างบทจะเป็นการกำหนดเรื่องราวที่นำเสนอ นำเอาแก่นของเรื่อง (Theme) หรือความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องมาคลี่คลาย
มาขยายให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอน มีการสอดแทรกอารมณ์ มีการหักมุม สร้างความฉงน
นำเรื่องราวไปสู่จุดสุดยอด (Climax) ให้ได้ดีที่สุดร่างบทวีดิทัศน์เขียนเป็นความเรียง
ที่ใช้ภาษาสละสลวย ทันสมัย สอดแทรกสาระ เกร็ดความรู้และสร้างความประทับใจ
อาลัยอาวรณ์ ในที่สุด บทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ (Full Script) หรือเรียกเป็นบทสำหรับถ่ายทา (Shooting Script) เป็นการนำเอาร่างบทมาขยายอย่างละเอียด ในลักษณะของการถ่ายทำ
ซึ่งจะมีลักษณะของภาพขนาดของภาพ กำหนดกล้องและการแสดงของผู้แสดง หรือ
เหตุการณ์นั้น อย่างสมจริงคณะทางาน
หรือผู้ผลิตรายการจะยึดการปฏิบัติงานตามบทวีดีทัศน์นี้ แต่ลักษณะที่เป็นจริงบท
วีดีทัศน์อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบ้าง ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้น
3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (Preparation)
ในการเตรียมเพื่อการผลิตรายการนั้น
คณะทำงานจะเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีส่วนเอื้ออำนวยต่อการทำงาน เครื่องมือ
อุปกรณ์ ในการถ่ายทำ เตรียมสถานที่
เตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งพร้อมที่จะทำงานได้ทันทีในกรณีที่ มีการเสริมแต่ง
หรือแก้ไขปัญหาการถ่ายทำ
เพราะความไม่พร้อมของเรื่องราวเหตุการณ์และสถานที่ยิ่งต้องมีการเตรียมสิ่งต่าง ๆ
เพื่อจำลองสถานการณ์ให้สมจริง เท่าที่จะทำได้ให้ดีที่สุด
4. การบันทึก (Recording)
กระบวนการถ่ายทำ
จะดำเนินไปตามแผนที่ได้วางไว้ และถ่ายทำตามบท
โดยมุ่งให้ได้ภาพตรงตามความต้องการมากที่สุด อาจจะถ่ายทำหลาย ๆ ครั้ง
ในฉากใดฉากหนึ่ง เพื่อมาคัดเลือกหาภาพที่ดีในตอนจะตัดต่ออีกครั้งหนึ่ง
ในการบันทึกแบ่งเป็น
บันทึกภาพและบันทึกเสียงซึ่งการบันทึกภาพนั้นจะได้ทั้งภาพทั้งเสียงอยู่แล้ว
เมื่อตัดต่อสามารถเลือกได้ว่า ช่วงไหนจะใช้แต่ภาพ หรือใช้ทั้งภาพและเสียง
การบันทึกภาพ บันทึกหรือถ่ายทำตามสภาพความเป็นจริง และความจำเป็นก่อนหลัง
ไม่จำเป็นต้องเรียงฉาก ตามบทวีดีทัศน์ (Script) ในการบันทึกเสียง
จะบันทึกทั้งเสียงเหตุการณ์จริง เสียงสัมภาษณ์ เสียงสนทนา เสียงบรรยาย
เสียงเพลงประกอบ และเสียงเหตุการณ์หรือเสียงที่นำมาใช้เป็นเอฟเฟค (Sound Effect) ให้เรื่องราวน่าสนใจซึ่งกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องเสียง
จะมีการผสมเสียงอีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการตัดต่อภาพและเสียง
ข้อสำคัญในการทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ในการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อจุดมุ่งหมายใด
ๆ ก็ตาม คณะทำงานควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน นโยบายและกิจกรรมขององค์กร พื้นฐานของงานโทรทัศน์
หรือ การทำวีดีทัศน์ไว้บ้าง เพื่อการสร้างงาน การคิดสร้างสรรค์ จะได้หลากหลาย
น่าสนใจ และที่สำคัญจะช่วยให้งานดาเนินไปได้อย่างราบรื่น
บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ควรรู้ ควรเข้าใจมีมากมาย อาทิ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เทคนิคกล้อง ชนิดของภาพ การลำดับภาพและตัดต่อภาพ
การนาเสียงมาใช้ในงานวีดีทัศน์ตลอดจนการใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์
ข้อควรจำในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อวีดีทัศน์
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า
สื่อวีดีทัศน์ เป็นสื่อที่มีความพร้อมในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งได้รวบรวมเอาความโดดเด่นของรูปแบบ
และแนวทางการนาเสนอที่สมบูรณ์ครบถ้วนไว้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ
คอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษอีกมากมายหน่วยงานหรือองค์กรใด
จะผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์
นอกจากจะเข้าใจถึงคุณสมบัติที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องราวต่าง
ๆ เช่น จะผลิตสื่อวีดีทัศน์ สาหรับกลุ่มเป้าหมายใด การผลิตวีดีทัศน์
ควรเลือกให้เหมาะกับกลุ่มผู้ดูผู้ชม เพราะเนื้อหาเรื่องราว จะมีความเข้มข้น
หรือละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น